ได้เข้าร่วมกิจกรรมของอาจารย์ณุตา พงษ์สุผล ชื่อโครงการว่า "โครงการกายงาม ใจดี ศรีปฐมวัย"
ซึ่งในงานมีกิจกรรมมากมาย เช่น มีการแสดงรำศรีวิชัย
และเซิ้งของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีการแสดงร้องเพลง ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1
มีการสอนเรื่องมารยาทไทยทั้งการไหว้ การนั่ง การยืน การส่งของ
มารยาทไทย คือ กิริยา วาจาต่างๆ เช่น การยืน การเดิน การนั่ง
การนอน การรับของส่งของ การทำความเคารพ การแสดงกิริยาอาการ
การรับประทานอาหาร การให้และรับบริการ การทักทาย การสนทนา การใช้คำพูด
การฟัง การใช้เครื่องมือสื่อสาร
รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติในพิธีการต่างๆที่สุภาพเรียบร้อยที่บุคคลพึง
ปฏิบัติในสังคมโดยมีระเบียบแบบแผนอันเหมาะสมตามกาลเทศะ
และถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญของคนไทย
การปฏิบัติในท่าไหว้ประกอบด้วยกิริยา ๒ ส่วน คือ
การประนมมือและการไหว้
การประนมมือ
(อัญชลี) เป็นการแสดงความเคารพ
โดยการประนมมือให้นิ้วมือทั้งสองข้างชิดกัน ฝ่ามือทั้งสองประกบเสมอกันแนบหว่างอก
ปลายนิ้วเฉียงขึ้นพอประมาณ แขนแนบตัวไม่กางศอก ทั้งชายและหญิงปฏิบัติเหมือนกัน
การประนมมือนี้ใช้ในการสวดมนต์ ฟังพระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนา ขณะสนทนากับพระสงฆ์
รับพรจากผู้ใหญ่ แสดงความเคารพผู้เสมอกัน และรับความเคารพจากผู้อ่อนอาวุโสกว่า
เป็นต้น
การไหว้ (วันทนา) เป็นการแสดงความเคารพ
โดยการประนมมือแล้วยกมือทั้งสองขึ้นจรดใบหน้าให้เห็นว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง
การไหว้แบบไทย แบ่งออกเป็น ๓ แบบ ตามระดับของบุคคล
ระดับที่ ๑
การไหว้พระ ได้แก่ การไหว้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมทั้งปูชนียวัตถุ
ปูชนียสถาน ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
ในกรณีที่ไม่สามารถกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ได้
โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดระหว่างคิ้ว
ปลายนิ้วแนบส่วนบนของหน้าผาก
ระดับที่ ๒ การ
ไหว้ผู้มีพระคุณและผู้อาวุโส ได้แก่ ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ครู อาจารย์
และผู้ที่เราเคารพนับถือ
โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายจมูก
ปลายนิ้วแนบระหว่างคิ้ว
ระดับที่ ๓ การ
ไหว้บุคคลทั่ว ๆ ไป ที่เคารพนับถือหรือผู้มีอาวุโสสูงกว่าเล็กน้อย
โดยประนมมือแล้วยกขึ้นพร้อมกับค้อมศีรษะลงให้หัวแม่มือจรดปลายคาง
ปลายนิ้วแนบปลายจมูก